บีเวอร์ สัตว์โลก ที่เลี้ยงลูกด้วยนม กับประวัติความมา
- czopspectercom
- 0
- on ก.พ. 06, 2018
ประวัติ
บีเวอร์ (beaver) เป็นสัตว์กินพืชเลี้ยงลูกด้วยนมจัดเป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับหนูยักษ์ พวกมันมีอยู่ด้วยกันสองสายพันธุ์คือ พันธุ์ยูเรเชียน (Eurasian beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor fiber) กับพันธุ์อเมริกาเหนือ (North American beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์ก็คือ Castor Canadensis) ถึงแม้จะมีขนาดและรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน แต่ทั้งสองสายพันธุ์แยกขาดจากกันตั้งแต่เมื่อ 24,000 ปีที่แล้ว พวกมันจึงไม่สามารถผสมพันธุ์กันเองได้อีก บีเวอร์มีข
นาดตัวที่ใหญ่ตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับเด็กอายุ 8 ขวบ ตัวผู้สามารถมีน้ำหนักได้มากกว่า 25 กิโลกรัมส่วนตัวเมียอาจมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ในช่วงอายุเท่ากัน นอกจากนี้บีเวอร์มีอายุยืนยาวได้ถึง 24 ปี พวกมันยังมีอีกสายพันธุ์หนึ่งในอดีตคือสายพันธุ์บีเวอร์ยักษ์ (Giant beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor ohioensis) ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อน
พวกมันส่วนมากอาศัยอยู่ในบริเวณซีกโลกเหนือมีจำนวนประชากรในแถบอเมริกาเหนือมากกว่า 60 ล้านตัว แต่เมื่อปี ค.ศ. 1988 มีจำนวนลดลงเหลือเพียง 6-12 ล้านตัวซึ่งเป็นผลมาจากการล่าสัตว์ที่กว้างขวางเนื่องจากนำมาใช้ทำเป็นยาและน้ำหอมซึ่งสกัดมาจากสารคัดหลั่งในตัวของบีเวอร์ที่เรียกว่าคาสโตเรียน (castoreum) นอกจากนี้ยังมีการใช้ขนของบีเวอร์มาทำเครื่องนุ่งห่มรวมไปถึงการใช้ประโยชน์บริเวณหน้าดินที่พวกมันทำเขื่อนที่ทำให้เกิดระบบนิเวศใหม่ในธรรมชาติขึ้นอีกด้วย
บีเวอร์ในวัฒนธรรมของต่างประเทศนั้นเกี่ยวข้องกับความขยัน ความหมั่นเพียรและทักษะในการก่อสร้าง ในคำกริยาภาษาอังกฤษ beaver หมายถึงคนที่ทำงานหนักและต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการนำบีเวอร์มาใช้เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน สถานศึกษาต่าง และการกีฬา เป็นต้น
ที่อยู่อาศัย
พวกมันจะชอบอาศัยอยู่บริเวณริมน้ำเรือลำธานการสร้างเขื่อนที่มีมานับ 100 ถึง 1000 ปี ของพวกมันที่ทวีปอเมริกาเหนือนั้นสามารถทำให้น้ำมีคุณภาพดีได้ บีเวอร์นั้นสามารถสร้างระบบนิเวศชุ่มน้ำขึ้นมาใหม่ได้โดยไม่ต้องเพิ่งมนุษย์หรือธรรมชาติอีกทั้งการสร้างเขือนของมันยังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และอุณหภูมิหรือสภาพอากาศบริเวณนั้นได้อีกด้วย การตัดต้นไม้ของมีเวอร์นั้นมีหลายสาเหตุโดยพวกมันล้มต้นไม้ใหญ่มาเพื่อสร้างเขื่อนแล้วใช้ไม้เล็กอุดตามรู แต่บีเวอร์ยูเรเซียมักจะตัดไม้ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ซ.ม. ส่วนอาหารพวกมันจะกินต้นไม้เล็ก ๆ ที่ไม่ใหญ่มากเป็นอาหาร และการสร้างเขื่อนนั้นทำให้ต้นไม้งอกบริเวณนั้นมากขึ้นแต่ก็จะฆ่าต้นไม้ที่จมอยู่ในแอ่งน้ำของมันเช่นกัน
วิธีหาอาหาร
ปกติจะเริ่มสร้างเขื่อนกักน้ำด้วยการล้มต้นไม้โดยตัดหรือกัดกิ่งไม้ชนิดต่าง ๆ แล้วก็คาบและลากกิ่งไม้นั้นลงไปไว้ก้นลำธาร ปล่อยให้ปลายไม้ชี้ไปตามน้ำเสร็จแล้วเอาโคลน กรวดและหินวางถมไป ต่อจากนั้นก็เอาโคลนและหินทับลงไปอีกเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำในเขือนนั้นจะมีความสูงตามที่พวกมันต้องการ ซึ่งเขือนพวกนี้สามารถอยู่ได้นานหลายเดือน โดยปกติแล้วมันจะสร้างช่องระบายน้ำ ไว้ 1 ช่องด้วย เขื่อนบีเวอร์ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันผู้ล่าเช่นหมาป่าและหมีและเพื่อให้เข้าถึงอาหารได้ง่ายในช่วงฤดูหนาว บีเวอร์ทำงานในเวลากลางคืนเสมอและยังเป็นผู้สร้างความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย โดยบีเวอร์จะอุดรูบนเขื่อนด้วยไม้โคลนหรือดินด้วนเหตุนี้การทำลายเขือนของบีเวอร์จึงเป็นเรื่องยากสำหรับนักล่า บีเวอร์สามารถสร้างเขื่อนได้ทั้งวันทั้งคืน โดยมันจะสร้างเขื่อนตามบริเวณริมแม่น้ำ
การสร้างเขื่อนของบีเวอร์ มีผลต่อระบบนิเวศ เพราะแหล่งน้ำที่ได้จากการสร้างเขื่อนจะดึงดูดสัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานให้เข้ามาอาศัยและหากินใกล้บริเวณเขื่อนนอกจากนี้ การสร้างเขื่อนยังมีประโยชน์ในการป้องกันพวกมันจากนักล่าอีกด้วย
รังพักพิง
รังของมันจะสร้างอยู่ในแอ่งน้ำขังจากการสร้างเขื่อนของมัน โดยรังของมันสร้างมาจากไม้และโคลนเมื่อเวลาผ่านไปโคลนเหล่านี้จะแข็งจนเหมือนหินทำให้นักล่าไม่สามารถทำลายลงได้ง่าย ๆ รังของพวกมันนั้นจะมีที่เข้าซึ่งจะอยู่ใต้น้ำทำให้นักล่าอย่างหมาป่าไม่สามารถเข้ามาได้ถึงแม้รังของมันจะดูใหญ่โตแต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ใช้ในการพักอาศัยโดยรังของมันที่มีที่เก็บอาหารที่เอาไว้ตากตัวให้แห้งและที่เอาไว้อยู่กับครอบครับ
บ้านของมันสร้างจากวัสดุที่เหมื่อนกันกับเขือนโครงสร้างส่วนมากถูกสร้างเพื่อใช้ในการรองรับหลังคาและทางเข้าโดยปกติจะมีทางเดี่ยวและเข้าออกผ่านทางใต้น้ำ เมื่อน้ำแข็งในฤดูหนาวเริ่มละลายพวกมันจะออกจากบ้านแล้วเดินเตร่ไปทั้วป่าพอถึงฤดูใบไม้ร่วงพวกมันจะเริ่มกลับเข้ารังซ่องแซมและเริ่มกักตุนอาหารเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับฤดูหนาวเมือเวลาผ่านไปถึงฤดูร้อนพวกมันก็จะเริ่มรื้อและรอจนกว่าจะเดือนสิงหาคมแล้วจึงเริ่มสร้างรังใหม่
คุณภาพน้ำจากการสร้างเขื่อน
แอ่งน้ำของบีเวอร์สามารถกำจัดตะกอนและสารมลพิษทางน้ำและทำให้ของแข็งแขวนลอยให้ตกเป็นตะกอนอีกทั้งยังเพิ่มไนโตรเจนฟอสเฟตคาร์บอนและซิลิเกตลงในน้ำอีกด้วย คำว่า “ไข้บีเวอร์” เป็นคำที่ใช้เรียกโดยนักข่าวชาวอเมริกันในทศวรรษที่ 1970 หลังจากค้นพบปรสิต ซึ่งเชื่อว่ามาจากบีเวอร์ อย่างไรก็ตามการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสัตว์และนกจำนวนมากก็มีพยาธิโดยมีแหล่งที่มาของการปนเปื้อนนี้คือมนุษย์นั้นเอง เนื่องจากประเทศนอร์เวย์มีบีเวอร์จำนวนมากแต่กลับไม่มีการพบพยาธิ giardia และในขณะเดียวกันที่ประเทศนิวซีแลนด์มีพยาธิ giardia แต่กลับไม่มีบีเวอร์ นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เชื่อว่าการเจื้อปนนี้มาจากมนุษย์ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการทำปศุสัตว์นั้นก็คือการเลี้ยงวัวในการทดสอบฝูงวัวมีการพบพยาธิ giardia ถึง 100% อีกทั้งยังค้นพบแบคทีเรียโคลิฟอร์มและแบคทีเรีย Streptococci อีกด้วยซึ่งการเจือปนนี้น่าจะเกิดจากการที่วัวได้ขับถ่ายลงแหล่งน้ำ
อ้างอิงที่มา wikipedia