• support@cz.co.th
  • 080-678-8886

3 โรค ควรระวังในผู้สูงอายุ!!!

 

1. โรคความดันโลหิตสูง 

หรือแพทย์บางท่านเรียกว่า ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High blood pressure) เป็นโรคพบได้บ่อยมากอีกโรคหนึ่งในผู้ใหญ่ พบได้สูงถึง ประมาณ 25-30% ของประชากรโลกที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง และพบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุ ในบางประเทศ พบโรคนี้ได้สูงถึง 50% ของผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนในเด็กพบโรคนี้ได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก

โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะมีความดันโลหิต วัดได้สูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตร –ปรอท ขึ้นไป ทั้งนี้ความดันโลหิตปกติ คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท

 

 

โรคความดันโลหิตสูงแบ่งตามสาเหตุได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด (Essential hypertension) ซึ่งพบได้สูงถึง 90-95%ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด และชนิดทราบสาเหตุ (Secondary hypertension) ซึ่งพบได้ประมาณ 5-10% ของโรคนี้ ดังนั้น โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง “โรคความดันโลหิตสูง” จึงหมายถึง “โรคความดันโลหิตสูงชนิดยังไม่ทราบสาเหตุ”

 

 

 

 

โรคความดันโลหิตสูงมีอาการอย่างไร?

ความสำคัญดูแลผู้สูงอายุของโรคความดันโลหิตสูงคือ เป็นโรคที่มักไม่มีอาการ และจากการที่เป็นโรคเรื้อรังที่รุนแรงถ้าไม่สามารถควบคุมโรคได้ แต่มักไม่มีอาการ แพทย์บางท่านจึงเรียกโรคความดันโลหิตสูงว่า “เพชฌฆาตเงียบ (Silent killer)” ทั้งนี้ส่วนใหญ่ของอาการจากโรคความดันโลหิตสูง เป็นอาการจากผลข้างเคียง เช่น จากโรคหัวใจ และจากโรคหลอดเลือดในสมอง หรือ เป็นอาการจากโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น อาการจากโรคเบาหวาน หรือ จากโรคอ้วน หรือเป็นอาการจากโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง (ปวดsศีรษะ และตาเห็นภาพไม่ชัด)

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการจากตัวความดันโลหิตสูงเองได้ โดยอาการที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน สับสน และเมื่อมีอาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้

 

 

 

รักษาโรคความดันโลหิตสูงอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง คือ การให้ยาลดความดันโลหิต การรักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงและเป็นสาเหตุ การรักษาและป้องกันผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง และการรักษาประคับประคองตามอาการ

การให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีหลากหลายชนิด ทั้งชนิดกินและชนิดฉีด ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ

การรักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น รักษาโรคเบาหวาน การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น รักษาโรคไตเรื้อรัง หรือ รักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง

การรักษาผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง เช่น การรักษาโรคไตเรื้อรัง (โรคไตเป็นได้ทั้งสาเหตุ และผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง)

การรักษาประคบประคองตามอาการ เช่น กินยาคลายเครียด และการพักผ่อนอย่างพอเพียง เป็นต้น

 

 

 

 โรคเบาหวาน

 

 

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM, Diabetes) 

เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้นมักพบในผู้สูงอายุ

 

 

 

อาการของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย  มีอาการชา โดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น ทั้งนี้ อาการของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์

 

 

 

การรักษาโรคเบาหวาน

การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์

 

 

 

โรคหัวใจ

 

หัวใจ (Heart)

หัวใจเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มีขนาดเท่ากำปั้น ภายในกลวง หัวใจจะอยู่ใต้กระดูกหน้าอก โดยมีตำแหน่งอยู่ในบริเวณส่วนกลางของหน้าอก ค่อนข้างไปทางซ้ายเล็กน้อย

หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อนำพาออกซิเจนและธาตุอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย

ลิ้นปิดเปิดในหัวใจมี 4 ลิ้น มีตำแหน่งอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง และที่เส้นเลือดหลักในหัวใจ ลิ้นหัวใจทำหน้าที่กั้นเพื่อให้การสูบฉีดโลหิตไหลไปในทิศทางเดียว

ในขณะที่ร่างกายพักผ่อน หัวใจจะมีอัตราการเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที การเต้นหรือการบีบตัวแต่ละครั้งเกิดจากตัวกระตุ้นทางกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกกระตุ้นโดยเซลล์พิเศษที่ชื่อ SA node กระแสไฟฟ้าที่ถูกกระตุ้นจาก SA node จะเดินทางผ่านชุดเส้นใยนำไฟฟ้าที่อยู่ทั่วทั้งห้องหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

 

 

 

 

สาเหตุของโรคหัวใจคืออะไร

คำถามที่เกี่ยวกับการเป็นโรคหัวใจหลายประเด็นไม่สามารถหาคำตอบได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจบ่งชี้ว่าน่าจะมีส่วนในการพัฒนาไปสู่การเป็นโรคหัวใจได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันก็คือนิสัยหรือบุคลิกลักษณะเฉพาะบุคคลที่อาจเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ

ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และสามารถปรับเปลี่ยนได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้และไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ควรตระหนักว่าท่านอาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอายุ เพศ หรือประวัติสุขภาพของคนในครอบครัวได้ แต่ท่านสามารถเปลี่ยนแปลงหรือชะลอโรคด้วยการตั้งใจควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ท่านกำหนดเองได้ ท่านก็จะสามารถป้องกันปัญหาโรคหัวใจที่จะเกิดขึ้นอนาคตได้

 

 

 

การรักษาโรคหัวใจ

การรักษาโรคหัวใจมีอยู่หลายวิธี แพทย์จะใช้ปัจจัยหลายๆ ข้อมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะวินิจฉัยว่าควรใช้วิธีใดในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ปัจจัยต่างๆ ที่แพทย์นำมาพิจาณา ได้แก่

  • จำนวนของเส้นเลือดที่อุดตัน
  • บริเวณที่เส้นเลือดอุดตัน
  • ประวัติการใช้ยา
  • ความต้องการของผู้ป่วย

 

การรักษาโดยการใช้ยา

การรักษาโรคหัวใจโดยใช้ยานั้นมีอยู่หลายชนิด และแต่ละวิธีนั้นก็ส่งผลได้แตกต่างกัน การรักษาด้วยยาบางชนิดจะช่วยลดการทำงานหนักของทำงานของหัวใจ (heart stress) และมีอีกหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการสูบฉีดโลหิตของหัวใจของผู้ป่วย

 

มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจโดยลูกโป่งถ่างขยายและการใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ(Coronary Angioplasty and Stent Placement)

มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจโดยลูกโป่งถ่างขยาย (PTCA) และการใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ เป็นการรักษาวิธีหนึ่งที่ใช้เปิดจุดอุดตันในหลอดเลือดจากภายในหลอดเลือด โดยใช้วิธีเดียวกับการวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ คือจะสอดสายยางเข้าทางเส้นเลือดที่ขาหนีบหรือที่แขน และสอดไปตามเส้นเลือดสู่หัวใจ ตรงปลายสายยางนี้จะมีลูกโป่งขนาดเล็กอยู่ เมื่อสายยางจะทะลุผ่านหลอดเลือดที่อุดตันอยู่ ก็จะถูกทำให้ขยายตัวเพื่อขยายหลอดเลือดและเปิดทางให้กับการไหลของโลหิต ถ้าอยู่ในบริเวณที่สามารถทำได้ก็จะฝังขดลวดขยายหลอดเลือด (stent) ขดลวดนี้ทำหน้าที่เป็นโครงในหลอดเลือดตรงส่วนที่อุดตัน เพื่อเปิดให้หลอดเลือดขยายออกได้ดีขึ้น

 

การผ่าตัดเปิดหัวใจ

การผ่าตัดเปิดหัวใจจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนของเลือดเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจ หรือปัญหาโรคหัวใจอื่นๆ การผ่าตัดหัวใจแบบธรรมดาได้แก่

  • การตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนหรือซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
  • การผ่าตัดปิดรูรั่วผนังหัวใจช่องบน
  • การผ่าตัดกล้ามเนื้อหัวใจ
  • การผ่าตัดโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง

 

 

เรียบเรียงโดย: MCCONTENT

ที่มา:

https://www.pobpad.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88

http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88/

 

สุดยอดผู้ให้บริการที่ได้รับรางวัลอันดับ 1 ในปี 2016กับงาน รับทำ SEO ที่มีผู้เชื่อมั่นมากที่สุด. รับทำ SEO และ รับทำ SEO สายขาว