Cricket กีฬาที่น้อยคน ที่ไม่รู้จัก และบางคนไม่รู้เลยว่ามีกีฬา ประเภทนี้
- czopspectercom
- 0
- on พ.ย. 04, 2018
ความเป็นมา เบื้องต้น
กีฬาคริกเก็ตมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ มีประวัติที่ยาวนานหากเปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล กีฬาคริกเก็ตมีต้นกำเนิดเกิดก่อนกีฬาฟุตบอลที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบันและจากการค้นหาข้อมูลยังพบอีกว่าการเล่นกีฬาคริกเก็ตได้ถูกจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ตั้งแต่ 300 ปี ที่ผ่านมา ในศตวรรษ ที่ 16 คริกเก็ตแพร่หลายจากประเทศอังกฤษไปยังประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรปและทวีปอื่นๆ และเมื่ออังกฤษไปครอบครองอาณานิคมในทวีปต่างๆ คนอังกฤษก็นำเอากีฬาคริกเก็ตไปเล่น มีการนำมาเล่นในอินเดียและเอเชียจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายและนิยมกัน แม้ต่อมาประเทศต่างๆ จะได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว แต่ก็ยังนิยมเล่นคริกเก็ต ในปัจจุบันมีประเทศต่างๆ มากกว่าร้อยประเทศเล่นกันโดยเฉพาะประเทศในเครือจักรภพ เช่น ออสเตรเลีย ศรีลังกา บังคลาเทศ และอินเดีย
คริกเก็ต (Cricket) แม้จะเป็นกีฬาที่อังกฤษนำเข้ามาในประเทศอาณานิคม แต่กีฬาชนิดนี้ก็พัฒนาและกลายเป็นความนิยมในประเทศเครือจักรภพของอังกฤษอย่างอินเดีย บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา และออสเตรเลีย เป็นต้น ปัจจุบันคนอินเดียชื่นชอบคริกเกตกันอย่างมากชนิดที่อาจเรียกได้ว่าคลั่งไคล้(cricket188bet)กันทั้งประเทศและยังติดตามชมการถ่ายทอดสดกีฬาคริกเกตแทบจะทุกนัดมากกว่ากีฬาอื่นๆ
เหตุที่คริกเกตเป็นกีฬายอดนิยมของอินเดียอาจเป็นเพราะการให้ความสำคัญกับผู้เล่นแต่ละคนดั่งวีรบุรุษและเงินรางวัลก็สูงเนื่องจากมีผู้สนับสนุนเข้ามาลงทุนให้อย่างมหาศาลเนื่องจากจะได้ลูกค้าเป็นจำนวนมากจึงทำให้นักกีฬาคริกเกตได้รับค่าตัวแพงที่สุดในบรรดานักกีฬาทั้งหลายของอินเดีย และแม้แต่ดาราดังอย่าง ชาห์รุก ข่าน (Shahrukh Khan) ก็ยังหันมาตั้งทีมคริกเกตของตนเอง
คริกเก็ตอาจเรียกได้ว่าเป็นกีฬาประจำชาติของอินเดียเพราะอินเดียมีทีมคริกเกตที่แข็งแรงและมีชื่อเสียงและแม้ว่าคริกเกตจะแข่งขันเป็นทีม แต่ก็เป็นกีฬาที่เล่นได้ทีละคน ดังนั้นแต่ละคนจึงเป็นที่คาดหวังสูง รวมทั้งถูกกดดันจากผู้ชมทั้งในสนามและทางบ้านมากโดยเฉพาะถ้าเป็นนัดการแข่งขันระหว่างประเทศก็จะถือเป็นนัดสำคัญที่พลาดไม่ได้เลยทีเดียว เพราะศักดิ์ศรีของประเทศสำคัญมาก
คริกเก็ตเป็นกีฬาที่ใช้ผู้เล่นทีมละ 11 คน ทุกคนในทีมจะลงมารอแข่งขันในสนามทั้งหมดโดยการแข่งขันนั้นหากแบ่งเป็นทีม (ก) และทีม (ข) ทีม (ค) ก็จะจัด Blower หรือ ผู้ขว้างลูก มาขว้างลูกไปยังไม้ที่ตั้งไว้บนสนามสามอัน ไม้เหล่านั้นเขาเรียกกันว่า Wickets ซึ่งทีม ข จะต้องส่ง Batsman หรือคนรักษา Wickets ซึ่งเป็นผู้ถือไม้ Bat มาเฝ้าที่ไม้ดังกล่าว ถ้า Batsman ตีลูกถูก ก็จะวิ่งวนเพื่อให้ได้คะแนน เรียกว่า Runs จนกว่า Fielders ของทีม ก ซึ่งก็คือ พวกที่คอยทำหน้าที่วิ่งเก็บลูก นำกลับเข้ามาในสนาม เพื่อหยุดการวิ่งเก็บคะแนนของฝ่ายตรงข้าม ดูแล้วก็คล้ายๆ กับกีฬาเบสบอลแต่คริกเกตและเบสบอลจะมีข้อแตกต่างตามรายละเอียด ดังนี้
- สนาม : คริกเกตจะเล่นในสนามรูปวงรี และมีความยาว 22 หลา ในขณะที่เบสบอลจะเล่นในสนามรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และมีความยาว 90 ฟุต
- จำนวนผู้เล่น : ทีมคริกเก็ตหนึ่งทีมจะมีผู้เล่น 11 คน ในขณะที่ทีมเบสบอลหนึ่งทีมจะมีเพียง 9 คน
- การทำแต้ม : ในคริกเกต Batsman หรือ ผู้ตีลูกต้องวิ่งไปกลับในสนามจากจุด ที่วางไม้ที่เรียกว่า Wickets ในขณะที่ Batsman หรือ ผู้ตีลูกในกีฬาเบสบอล จะต้องวิ่งรอบจุดสี่จุดตามสนามรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และถ้าวิ่งได้ครบทุกจุดในคราวเดียวกันก็จะเรียกว่า Home-run นั่นเอง ถือได้ว่าเป็นกีฬาที่ X-tream อันตราย ขนาดมีเครื่องป้องกัน
การเล่นกีฬาคริกเก็ต ในประเทศไทย
ได้นำกีฬาคริกเกตเข้ามาในช่วง รัชกาลที่ 5 และในเวลาต่อมา รัชกาลที่ 6 ได้ทรงนำกีฬาคริกเก็ตมาเล่นในพระราชวัง โดยเฉพาะที่ห้องเก็บของพระราชวังค่ายมฤคทายวัน มีชุดอุปกรณ์การเล่นกีฬาคริกเก็ตและได้มีการจัดนิทรรศการแสดงอยู่ ก็ถือว่าเป็นจุดกำเนิดการเล่นกีฬาคริกเก็ตในประเทศไทย ต่อมาในปี ค.ศ. 1971 ก็เริ่มมีการแข่งขันคริกเก็ตขึ้นมาในกรุงเทพฯและจังหวัดเชียงใหม่โดยได้ถูกจัดให้มีการแข่งขันกีฬาโดยตั้งชื่อรายการแข่งขันที่ว่า “คริกเก็ตลีกแห่งประเทศไทย” ลีกการแข่งขันได้ถูกขยายจากแรกเริ่มมีเพียง 6 ทีมเฉพาะในกรุงเทพฯจนได้จัดตั้งเป็นชมรม “ไทยแลนด์คริกเก็ตลีก” ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1972 เรื่อยมา “ไทยแลนด์คริกเก็ตลีก” ได้เพิ่มจำนวนทีมมาเป็น 19 ทีมโดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม รวมถึงทีมจากจังหวัดเชียงใหม่ ในปี ค.ศ. 1989 จากนั้นไม่เพียงเฉพาะแค่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดเชียงใหม่ แล้วกีฬาคริกเก็ตก็ได้ถูกนำไปเผยแพร่ที่ จ.ขอนแก่น ,อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดภูเก็ต
จนมาถึงปี ค.ศ. 2004ด้วยกิจกรรมของชมรม “ไทยแลนด์คริกเก็ตลีก” ได้มีกิจกรรมเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติมากขึ้น ทางชมรมก็ขอจดทะเบียนเป็นสมาคมอย่างเป็นทางการกับทางกระทรวงวัฒนธรรมใน นาม “สมาคมคริกเก็ต”ความเห็นชอบของการกีฬาแห่งประเทศไทย จากไทยแลนด์คริกเก็ตลีก 1972 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น “สมาคมคริกเก็ต” ของหน่วยงานศูนย์วัฒนธรรม
กีฬาคริกเก็ต ในปัจจุบัน
สมาคมคริกเก็ตแห่งประเทศไทยมีเป้าหมายอย่างต่อเนื่องที่จะนำคริกเก็ตไปสู่ยุคใหม่และกลุ่มท้องถิ่นนอกจากพัฒนาคริกเก็ตและปรับปรุงมาตรฐานของคริกเก็ตให้อยู่ในการเล่นคริกเก็ตระดับนานาชาติ สมาคมคริกเก็ตแห่งประเทศไทยได้เป็นสมาชิกของสภาคริกเก็ตเอเชีย (Asian Cricket Council) และในปี ค.ศ. 2005 ได้เข้าร่วมกลุ่มสมาชิกสภาคริกเก็ตนานาชาติ (International Cricket Council) และในปีเดียวกันนั้นเองสมาคมคริกเก็ตแห่งประเทศไทยก็ได้สถานภาพในระดับสมาคม
หลังจากที่ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดภายใต้การดูแลของการกีฬาแห่งประเทศไทยสมาคมคริกเก็ตแห่งประเทศไทยประกอบด้วยขอบข่ายบุคลากร จากผู้ดำเนินการ ครูฝึก และกรรมการตัดสินโดยแบ่งสรรหน้าที่กันในแต่ละส่วนในการแข่งขันระดับประเทศและผู้เล่นดำเนินไปตามกฎข้อปฏิบัติของการกีฬาแห่งประเทศไทยในขณะเดียวกันสมาคมคริกเก็ตแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับสภาคริกเก็ตเอเชียและสภาคริกเก็ตนานาชาติในการสัมนาแนวทางการปฏิบัติและการแข่งขันนานาชาติ สมาคมคริกเก็ตแห่งประเทศไทยได้ต่อสู้เพื่อที่จะแผ่ขยายความรู้ในกีฬาคริกเก็ตและสร้างเอกลักษณ์เฉพาะในกลุ่มการเล่นคริกเก็ตนานาชาติ